我们的服务

Analyze Soil-Fertilizer-Plant

         ดินเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการผลิตพืช เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็น แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักทำการเกษตรต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน  ทำให้สมดุลของธาตุอาหารในดินสูญเสียไป หรืออาจทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนไปในทางที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ต้นไม้ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยที่ได้รับ นอกจากจะเสียเงินแล้วยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำไปด้วย

         การรู้จักดิน ทำให้สามารถจัดการดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชได้อย่างถูกต้อง มีประโยชน์สำหรับเกษตรกรให้รู้ปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน รู้ปัญหาและวิธีการแก้ไขให้ถูกต้อง และสามารถใช้ปุ๋ยได้ในปริมาณเหมาะสมตามที่ต้นพืชต้องการ

          บริษัท ไอออนิค จำกัด รับตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารในดิน พืช ปุ๋ย และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ “อัยย์แลป” ที่มีเครื่องมือทันสมัย ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำในการจัดการดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม ภายใต้แนวความคิด “รวดเร็ว และแม่นยำ” (Fast & Firm)

         ►  รวดเร็ว (Fast)  รายงานผลภายใน 96 ชั่วโมง เร็วกว่าเมื่อเทียบกับหน่วยงานเอกชน และหน่วยงานราชการ

         ►  แม่นยำ (Firm) ด้วยเครื่องมือทัยสมัยภายใต้การทำงานในระบบ ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานรัฐ และเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ

การบริการเหมาะสำหรับ

  • เกษตรกร

  • นักวิจัย นักวิชาการ

  • หน่วยงานด้านการเกษตร

  • โรงงานผลิตปุ๋ย และปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

  • โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

รายการตรวจวิเคราะห์   

 

                  รายการวิเคราะห์

               วิธีการวิเคราะห์

     1

ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

pH meter method

     2

อินทรียวัตถุ (OM)

Walkly and Black method

     3

ค่าการนำไฟฟ้า (EC)

EC meter method

     4

เนื้อดิน (Texture)

Hydrometer method

     5

ฟอสฟอรัส (Avail.P)

Bray II method

     6

โพแทสเซียม (Exch.K)

Flame photometric method

     7

ความต้องการปูน (LR)

Woodruff buffer method

     8

แคลเซียม (Exch.Ca)

Flame photometric method

     9

แมกนีเซียม (Avail.Mg)

Flame photometric method

    10

โซเดียม (Exch-Na)

Flame photometric method

    11

กำมะถัน (Exch-Na)

Tubidimetric method

    12

ไนโตรเจน (Totla-N)

Kjeldahl method

    13

ความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC)

Buchner funnel filtration method

    14

ความชื้น (Moisture)

Gravimetric method

    15

การย่อยาสลายสมบูรณ์ (GI)

Germination Index

    16

ปริมาณหิน และกรวด

Wet screen analysis method

    17

ขนาดของปุ๋ย

Dry screen analysis method

    18

คาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N Ratio)

Walkley and Black and Kjeldahl method

         โดยวิธีการวิเคราะห์เป็นวิธีจากสำนักวิเคราะห์ทางเคมีสากล (AOAC) และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสากล (ASTM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของกลุ่มประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก (APLAC) สากล (ILAC) และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วโลก ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ยังเป็นวิธีการที่ใช้อ้างอิงในมาตรฐาน ISO/IEC 17025

           ค่าบริการและชุดวิเคราะห์ที่แนะนำ

 

           รายการวิเคราะห์

ค่าบริการ

           ชุดตรวจดิน

ชุด

ตรวจปุ๋ย

 พื้นฐาน

ครบถ้วน

 เต็มพิกัด

     1

ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

         50

      /

      /

      /

     /

     2

อินทรียวัตถุ (OM)

        250

     /

      /

      /

     /

     3

ค่าการนำไฟฟ้า (EC)

        150

     /

      /  

      /

     /

     4

เนื้อดิน (Texture)

        300

     /

      /

      /

     -

     5

โพแทสเซียม (Exch.K)

        800

     /

      /

      /

     /

     6

ฟอสฟอรัส (Avail.P)

        600

     /

      /

      /

     /

     7

ไนโตรเจน (Totla-N)

        600

     -

      /

      /

     /

     8

ความต้องการปูน (LR)

        150

     -

      /

     /

     -

     9

แคลเซียม (Exch.Ca)

        600

     -

      /

      /

     /

    10

แมกนีเซียม (Avail.Mg)

        400

     -

      /

      /

     /

    11

โซเดียม (Exch-Na)

        500

     -

      -

      /

     /

    12

กำมะถัน (Exch-Na)

        700

     -

      -  

      /

     /

    13

ความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC)

        800

     -

      -

      /

     /

    14

ความชื้น (Moisture)

        150

     -

      -

      -

     /

    15

การย่อยาสลายสมบูรณ์ (GI)

        250

     -

      -

      -

     /

    16

ปริมาณหิน และกรวด

        100

     -

      -  

      -

     /

    17

ขนาดของปุ๋ย

        100

     -

      -

      -

     /

    18

อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N Ratio)

           0

     -

      -

      -

     /

                            ราคารวม

   2,150

    3,900

     5,900

   6,050

              ราคาพิเศษ เมื่อวิเคราะห์เป็นชุด

  1,900

   3,400

4,900

4,900

         กรณีการตรวจวิเคราะห์ดิน นอกจากจะรายงานผลเป็นตัวเลขแล้ว ยังแสดงระดับของสมบัติต่างๆ ที่ทำการวิเคราะห์ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการจัดการเพื่อปรับสู่ค่ามาตรฐาน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช

       

         วิธีเก็บตัวอย่าง และจัดส่งดินเพื่อวิเคราะห์

         การวิเคราะห์ดินนั้นช่วยประเมินความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการดิน ซึ่งการเก็บตัวอย่างถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ เพราะเป็นตัวอย่างดินของแต่ละพื้นที่ โดยมีวิธีการดังนี้

         1.  แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย (แต่ละแปลงไม่ควรเกิน 25 ไร่)

         2.  กรณีพืชรากสั้น (พืชไร่ ข้าว และผัก) : เก็บดินแต่ละแปลงย่อยให้กระจายทั่วแปลง ๆ ละประมาณ 15 จุด

              กรณีพืชรากลึก (ไม้ผล ไม้ยืนต้น) : ให้เลือกพืช 15-20 ต้นต่อแปลง เก็บรอบทรงพุ่ม 2-4 จุดต่อต้น แล้วเอาดินที่ได้แต่ละต้นมารวมกัน

         3.  ทำการเปิดหน้าดินบริเวณที่เลือกให้เป็นจุดเก็บตัวอย่างดิน โดยการถากหญ้าหรือกวาดเศษพืชที่ปกคลุมดินออก ที่ระยะความลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร

         4.  ขุดหลุมเป็นรูป V ลึกประมาณ 1 หน้าจอบ (15 ซม.) จากนั้นใช้จอบเซาะดินที่ขอบหลุมขึ้นมาเต็มหน้าจอบในแต่ละจุดเก็บ

         5.  คลุกดินที่เก็บมาทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นแบ่งดินมา ½ ก.ก. ใส่ถุงพลาสติก (ถ้าดินเปียกให้ผึ่งในร่มให้แห้งก่อน ห้ามนำดินไปตากแดดโดยเด็ดขาด)

         6.  ส่งตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ และการชำระค่าบริการ

              6.1  การชำระเงิน

                    โอนเงินมาที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า

                    ชื่อบัญชี บจก.บอร์น ทู บิส

                    บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เลขที่ 022-3-67230-2

                    แล้วถ่ายสำเนาเอกสารเก็บไว้ 1 ชุด

              6.2  กรอกแบบฟอร์มการส่งตัวอย่างดิน

                    ส่วนที่เป็นสีเขียวในโบรชัวร์ให้ครบถ้วนแล้วตัดออกมา

              6.3  แนบเอกสารมาพร้อมกับตัวอย่างดิน ดังนี้

                    - แบบฟอร์มการส่งตัวอย่างดิน

                    - เอกสารการโอนเงิน

                    - คูปอง (ถ้ามี)

              6.4  จัดส่งทางไปรษณีย์

                    โดยใช้กล่องขนาด ก

                    ส่งมาที่ ห้องปฏิบัติการอัยย์แลป

                    เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตะคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120

         7.  รอรับผลการวิเคราะห์ทางอีเมล์ และจดหมาย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ห้องปฏิบัติการอัยย์แลป

โทร 081-905-8155

E-mail : iLab@ionique.co.th