ธุรกิจในเครือไอออนิค

ห้องปฏิบัติการอัยย์แลป

มาตรฐานรับรอง ISO/IEC 17025

 

 

         ตรวจสอบคุณภาพ ควบคุมปุ๋ยให้ได้มาตรฐาน พร้อมรับบริการเกษตรกรและลูกค้าที่สนใจในการตรวจวิเคราะห์ดิน ปุ๋ย พืช มาตรฐานรับรอง ISO/IEC 17025 รวดเร็วและแม่นยำ (Fast& Firm) ทันใจภายใน 96 ชั่วโมง อีกทั้งให้คำแนะนำในการจัดการดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ


             ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ “อัยย์แลป” มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยไอออนิค ตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบ การวิเคราะห์ค่าธาตุอาหาร ค่าคุณสมบัติทางเคมี ค่า pH, EC และ CEC เพื่อควบคุมปุ๋ยไอออนิคให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังรับบริการเกษตรกรหรือลูกค้าที่สนใจ ในการวิเคราะห์ดิน พืช ปุ๋ย และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเครื่องมือทันสมัย ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.หรือ NSTDA) พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำในการจัดการดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม ภายใต้แนวความคิด “รวดเร็ว และแม่นยำ” (Fast & Firm)

          ►รวดเร็ว (Fast)  รายงานผลภายใน 96 ชั่วโมง เร็วกว่าเมื่อเทียบกับหน่วยงานเอกชน และหน่วยงานราชการ

 

         ►แม่นยำ (Firm) ด้วยเครื่องมือทันสมัยภายใต้การทำงานในระบบ ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานรัฐ และเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ

 

การบริการเหมาะสำหรับ

  • เกษตรกร
  • นักวิจัย นักวิชาการ
  • หน่วยงานด้านการเกษตร
  • โรงงานผลิตปุ๋ย และปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
  • โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

 

การตรวจวิเคราะห์

         โดยวิธีการวิเคราะห์เป็นวิธีจากสำนักวิเคราะห์ทางเคมีสากล (AOAC) และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสากล (ASTM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของกลุ่มประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก (APLAC) สากล (ILAC) และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วโลก ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ยังเป็นวิธีการที่ใช้อ้างอิงในมาตรฐาน ISO/IEC 17025

ค่าบริการและชุดวิเคราะห์ที่แนะนำ


          กรณีการตรวจวิเคราะห์ดิน นอกจากจะรายงานผลเป็นตัวเลขแล้ว ยังแสดงระดับของสมบัติต่างๆ ที่ทำการวิเคราะห์ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการจัดการเพื่อปรับสู่ค่ามาตรฐาน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช

 

วิธีเก็บตัวอย่าง และจัดส่งดินเพื่อวิเคราะห์

         การวิเคราะห์ดินนั้นช่วยประเมินความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการดิน ซึ่งการเก็บตัวอย่างถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ เพราะเป็นตัวอย่างดินของแต่ละพื้นที่ โดยมีวิธีการดังนี้

         1.  แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย (แต่ละแปลงไม่ควรเกิน 25 ไร่)

 

         2.  กรณีพืชรากสั้น (พืชไร่ ข้าว และผัก) : เก็บดินแต่ละแปลงย่อยให้กระจายทั่วแปลง ๆ ละประมาณ 15 จุด

 

             กรณีพืชรากลึก (ไม้ผล ไม้ยืนต้น) : ให้เลือกพืช 15-20 ต้นต่อแปลง เก็บรอบทรงพุ่ม 2-4 จุดต่อต้น แล้วเอาดินที่ได้แต่ละต้นมารวมกัน

 

         3.  ทำการเปิดหน้าดินบริเวณที่เลือกให้เป็นจุดเก็บตัวอย่างดิน โดยการถากหญ้าหรือกวาดเศษพืชที่ปกคลุมดินออก ที่ระยะความลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร และขุดหลุมเป็นรูป V ลึกประมาณ 1 หน้าจอบ (15 ซม.) จากนั้นใช้จอบเซาะดินที่ขอบหลุมขึ้นมาเต็มหน้าจอบในแต่ละจุดเก็บ

 

         4.  คลุกดินที่เก็บมาทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นแบ่งดินมา ½ ก.ก. ใส่ถุงพลาสติก (ถ้าดินเปียกให้ผึ่งในร่มให้แห้งก่อน ห้ามนำดินไปตากแดดโดยเด็ดขาด)

 

         5.  ส่งตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ และการชำระค่าบริการ

              5.1  การชำระเงิน

                     โอนเงินมาที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า

                     ชื่อบัญชี บจก.บอร์น ทู บิส

                     บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เลขที่ 022-3-67230-2

                     แล้วถ่ายสำเนาเอกสารเก็บไว้ 1 ชุด

              5.2  กรอกแบบฟอร์มการส่งตัวอย่างดิน

              5.3  แนบเอกสารมาพร้อมกับตัวอย่างดิน ดังนี้

                    -  แบบฟอร์มการส่งตัวอย่างดิน

                    -  เอกสารการโอนเงิน

                    -  คูปองส่วนลด (ถ้ามี)

             5.4  จัดส่งทางไปรษณีย์ (ตัวอย่างดิน 1 กิโลกรัม)

                    โดยใช้กล่องขนาด ก

                    ส่งมาที่ ห้องปฏิบัติการอัยย์แลป

                    เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตะคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71130

         6.  รอรับผลการวิเคราะห์ทางอีเมล์ และจดหมาย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ห้องปฏิบัติการอัยย์แลป

โทร. 081-905-8155

E-mail : ilab@ionique.co.th