เทคนิครายพืช

ยางพารา

         ประเทศไทยส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก สามารถทำรายได้เข้าประเทศได้กว่า 4 แสนล้านบาท/ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้น เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางน้ำข้น หากชาวสวนยางพาราพัฒนาการผลิตยางพาราให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำยาง (Latex) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ  จะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

 

 

แหล่งปลูกยางพาราในประเทศไทย

          พื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศไทยรวมทั้งสิ้นประมาณ 19 ล้านไร่ ผลิตน้ำยางได้ประมาณ 3.6 ล้านตันต่อปี มีมูลค่าประมาณ 315,994 ล้านบาท  แนวโน้มพื้นที่ปลูกยางนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปลูกมากที่สุดที่ภาคใต้ รองลงมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

         10 จังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา นราธิวาส พังงา ระยอง กระบี่ และบึงกาฬ ตามลำดับ

 

 

 

 

 

พันธุ์ยางพารา

         ชาวสวนยางควรเลือกพันธุ์ปลูกที่ดีให้ผลผลิตสูง และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากใช้พันธุ์ปลูกไม่ดี ถึงแม้จะดูแลบำรุงรักษาดีแค่ไหนก็ตาม ผลผลิตยางพาราก็อาจตกต่ำได้ ไม่คุ้มค่า 

         พันธุ์ยางชั้น 1 เป็นพันธุ์ยางที่ทางสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรได้ศึกษา วิจัย และทดลองอย่างละเอียด แนะนำเกษตรกรให้ปลูกได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก โดยแนะนำตามผลผลิตดังนี้

         •  กลุ่มให้ผลผลิตน้ำยางสูง  แนะนำพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984, RRIT 251, RRIM 600, RRIT 226, BPM 24

         •  กลุ่มให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ แนะนำพันธุ์ PB 235, PB 255, PB 260, RRII 118

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การปลูกยางพารา

         ยางพารา เป็นไม้ยืนต้นที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี โดยสภาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี มีค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 4.5-5.5 และมีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,250 มม./ปี หรือมีการจัดการระบบน้ำที่ดี 

         สิ่งที่ควรปฏิบัติในการปลูกยาง คือ 1) การวางแนวปลูก 2) การวางระยะปลูก และ 3) การขุดหลุมปลูก

 

 

 

 

 

 

         ระยะการปลูก ควรวางแนวปลูกตามแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยมีระยะ 2.5 x 8.0 ม. หรือ 3.0 x 7.0 ม. ในแหล่งปลูกยางใหม่ โดยมีขนาดของหลุม 50 x 50 x 50 เซนติเมตร และทำการปลูกต้นกล้ายางพารา โดยคัดเลือกต้นกล้ายางพาราที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช ขนาด 1-2 ฉัตร

         การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง มีประโยชน์ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน โดยเศษซากพืชคลุมดินเมื่อย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุจะช่วยเพิ่มอาหารในดิน  ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช ลดรายจ่ายในการกำจัดวัชพืช  ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน รักษาความชื้น ช่วยปรับโครงสร้างดินและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นยางพารามีการเจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็วขึ้น และยังเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน เช่น มด แมลง หนอน ทำหน้าที่ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ ช่วยเพิ่มฮิวมัสให้แก่ดิน  โดยพืชคลุมดินที่นิยมปลูกในสวนยาง ได้แก่ พืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่น ซีรูเลียม คาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา เป็นต้น สามารถเจริญเติบโตคลุมดินได้ดี ช่วยเพิ่มธาตุอาหาร ตลอดจนอินทรียวัตถุให้แก่ดินได้ดีกว่าพืชคลุมดินชนิดอื่นๆ 

 

 

 

 

7 เคล็ดลับการเพิ่มผลผลิตยางพารา

เคล็ดลับที่ 1 : ย่อยใบยาง เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน

 

 

เคล็ดลับที่ 2 : ปรับ pH ให้เหมาะสม

 

 

 

เคล็ดลับที่ 3 : ป้องกันอย่าให้เกิดโรค

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เคล็ดลับที่ 4 : กรีดให้ถูกต้อง ให้ถึงท่อน้ำยาง

 

 

 

 

 

 

 

เคล็ดลับที่ 5 : ทาหน้ายาง

 

 

เคล็ดลับที่ 6 : เพิ่มกรดอะมิโน

 

 

 

 

เคล็ดลับที่ 7 : ใส่ปุ๋ยให้เหมาะสม

 

 

 

 

 

 

ผลิตภัณฑ์เพิ่มผลผลิตยางพารา