มันสำปะหลัง
เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมกาว อุตสาหกรรมไม้อัด เป็นต้น และกำลังมีบทบาทอย่างมากสำหรับผลิตพลังทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งนับวันจะมีราคาสูงขึ้น จึงถือได้ว่ามันสำปะหลังเป็นพืชทีมีความสำคัญสำหรับชีวิตและเศรษฐกิจอย่างยิ่ง
โดยประเทศไทย เป็นประเทศผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในปี 2557 นี้ มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่า เนื่องจากตลาดจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักมีความต้องการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง คาดว่าไทยอาจมีมูลค่าการส่งออกแป้งมันสำปะหลังดิบอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท และมูลค่าการส่งออกมันเส้นมันอัดเม็ดอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้ไทยสามารถคงบทบาทผู้นำระดับโลกต่อไป เกษตรกรควรเน้นการผลิตเชิงคุณภาพมากขึ้น เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น
ลักษณะทั่วไปของมันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดหวาน และชนิดขม โดยมันชนิดหวานใช้เพื่อบริโภคหรือทำอาหารได้โดยตรง เป็นมันสายพันธุ์ระยอง 2 และพันธุ์ 5 นาที ซึ่งมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ และไม่มีรสขม ส่วนมันชนิดขม จะไม่เหมาะสำหรับนำมาบริโภคหรือใช้เลี้ยงสัตว์โดยตรง เนื่องจากมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง ซึ่งมีความเป็นพิษต่อร่างกาย การนำมาใช้ต้องผ่านการแปรรูปก่อน เช่น พันธุ์ระยอง 1, พันธุ์ระยอง 3, พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งในประเทศไทยมีการปลูกมันสำปะหลังชนิดขมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมากที่สุด
พันธุ์มันสำปะหลัง
การเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง
แบ่งออกเป็น 5 ระยะ
1. ระยะท่อนพันธุ์งอก และตั้งตัว (Germination stage)
2. ระยะพัฒนาทรงพุ่ม (Vegetative stage)
3. ระยะพัฒนารากและสะสมอาหาร และลงหัว (Tubers stage)
4. ระยะพักตัว (Dominance stage)
5. ระยะฟื้นตัว (Recover stage)
7 เคล็ดลับการเพิ่มผลผลิต
เคล็ดลับที่ 1 : การเตรียมดิน
เคล็ดลับที่ 2 : การยกร่องปลูก
เคล็ดลับที่ 3 : การเตรียมท่อนพันธุ์
เคล็ดลับที่ 4 : การปลูก
เคล็ดลับที่ 5 : การดูแลรักษา
เคล็ดลับที่ 6 : การใส่ปุ๋ย
เคล็ดลับที่ 7 : การฉีดพ่นทางใบ
ผลิตภัณฑ์เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง